UP Ventures
บริษัท UP Ventures เป็นนักลงทุนในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และพลังงานสะอาด ได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมมันสำประหลังให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น จึงลงทุนธุรกิจการผลิตเอทานอลขนาดใหญ่ที่สุดใน South East Asia บนเนื้อที่ 1,230 ไร่ โดยมีมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต มีกำลังการผลิตเอทานอลรวมทั้งสิ้น 1,020,000 ลิตร/วัน เพื่อใช้เป็นส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิง โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีความชำนาญการผลิตเอทานอลจากแป้งซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้กับมันสำปะหลังซึ่งประเทศไทยมีการปลูกได้มาก และราคาต้นทุนต่ำที่สุดในพืชจำพวกแป้ง เพื่อรองรับความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ด้านการผลิต โรงงานผลิตเอทานอล ในกลุ่ม UP Ventures ยึดตามมาตรฐานโรงงานสีเขียว (Green Industry) ของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยการดำเนินงานและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืน ด้วยการนำเทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ในกระบวนการผลิตควบคู่กับการสร้างเครือข่ายสีเขียวที่ยั่งยืน (Green Network) ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ครอบคลุมทั้ง Suppliers และลูกค้า พร้อมนำหลักการ Eco Symbiosis หรือหลักการพึ่งพาอาศัยกันมาปรับใช้ในการจัดการของเสียของโรงงานร่วมกับคู่ค้า คู่ธุรกิจ ตลอดจนยังมีส่วนร่วมกับชุมชมและสังคมในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
“โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว” จัดขึ้นโดยกระทรวงอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 เพื่อเป็นการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมให้มีการประกอบกิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม ให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถดำเนินกิจการร่วมกับสังคมและชุมชนได้อย่างมีความสุขไปพร้อม ๆ กัน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Green Network) โดยมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตลอดห่วงโซ่อุปทาน”
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา UP Ventures มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักบรรษัทภิบาลเพื่อความยั่งยืนโดยมุ่งสร้างประโยชน์สูงสุดต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย พร้อมส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัททุกส่วนไม่ว่าจะเป็นชุมชน คู่ค้า พนักงาน หรือส่วนอื่น ๆ ได้ร่วมกันดำเนินงานตามแนวทางดังกล่าวอย่างจริงจังและต่อเนื่อง อีกทั้งมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกัน รวมถึงทำกิจกรรมต่าง ๆ มากกมาย เพื่อช่วยเหลือสังคมเกษตรกรรม รวมถึงการพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังและยังคงดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การบูรณาการร่วมกันกับชุมชนทุกภาคส่วน ก่อเกิดโครงการสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ต่อชุมชนและสังคม